เรื่องของ “การแต่งกาย” เป็นหนึ่งในสิทธิแสรีภาพเหนือร่างกายของทุกคน ขอเพียงไม่ใช่ชุดที่ก่อให้เกิดความอนาจาร หรือเป็นการแต่งกายเลียนแบบวิชาชีพต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย ขณะเดียวกันก็มีบางประเทศที่มีกฎหมายคุมเข้มเรื่องการแต่งกาย เช่น อัฟกานิสถาน
ล่าสุดที่ประเทศจีน มีการร่างกฎหมายการพูดและการแต่งกายฉบับใหม่ ซึ่งมีเนื้อหาห้ามไม่ให้ประชาชน “แต่งกายในลักษณะที่เป็นอันตรายต่อจิตวิญญาณของชาติจีน”
จีนสั่งเจ้าหน้าที่รัฐ ห้ามใช้โทรศัพท์ iPhone – อุปกรณ์แบรนด์ต่างประเทศ
“กำแพงเมืองจีนเป็นรู” หลังช่างก่อสร้างขี้เกียจอ้อม ใช้รถขุดสร้างทางลัด
โดยร่างกฎหมายระบุว่า “ผู้ที่สวมหรือบังคับผู้อื่นให้สวมเสื้อผ้าและสัญลักษณ์ที่บ่อนทำลายจิตวิญญาณหรือทำร้ายความรู้สึกของประเทศจีน อาจถูกควบคุมตัวนานสูงสุด 15 วัน และปรับสูงสุด 5,000 หยวน (ราว 24,000 บาท)”
ในส่วนของการพูด ผู้ที่สร้างหรือเผยแพร่ บทความหรือสุนทรพจน์ ที่ที่บ่อนทำลายจิตวิญญาณหรือทำร้ายความรู้สึกของประเทศจีน อาจได้รับโทษเช่นเดียวกัน รวมถึงยัง “ห้ามดูหมิ่น ใส่ร้าย หรือละเมิดชื่อของวีรบุรุษและผู้ที่เสียสละตนเพื่อประเทศจีน รวมถึงการก่อกวนรูปปั้นอนุสรณ์สถานของพวกเขาด้วย”
หากกฎหมายมีผลบังคับใช้ ผู้คนที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดอาจถูกปรับหรือจำคุกตามที่ระบุไว้ข้างต้น แต่ปัญหาคือ ร่างกฎหมายใหม่นี้กลับไม่ได้ระบุนิยามหรือขอบเขตว่า ลักษณะใดบ้างที่เข้าข่ายทำให้ประเทศจีนเจ็บปวด
หลังมีรายงานเรื่องนี้ออกไป ก็ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์และการตั้งคำถามจากผู้ใช้โซเชียลมีเดียและผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายจำนวนมาก โดยต่างออกมาเรียกร้องให้มีความชัดเจนมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับใช้กฎหมายเกินกว่าเหตุ
ชาวเน็ตจีนจำนวนมากยังตำหนิว่า กฎหมายดังกล่าว “มากเกินไป” และ “ไร้สาระ” โดยมีคำถามสำคัญคือ “ผู้บังคับใช้กฎหมายจะพิจารณาหรือตัดสินได้อย่างไรว่า ‘ประเทศกำลังรู้สึกเจ็บปวด?’”
ผู้ใช้เวยปั๋วรายหนึ่งบอกว่า “การสวมสูทและเน็กไทผิดไหม (เพราะเป็นการแต่งกายแบบตะวันตก) แล้วลัทธิมาร์กซิสม์ล่ะ ก็มีต้นกำเนิดในโลกตะวันตก การมีอยู่ของมันในจีนจะถือเป็นการทำร้ายความรู้สึกของชาติด้วยหรือไม่คำพูดจาก เว็บตรง?”
ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายในประเทศยังได้วิพากษ์วิจารณ์การใช้ถ้อยคำที่คลุมเครือของกฎหมายนี้ โดยกล่าวว่ากฎหมายดังกล่าวอาจล้ำเส้นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้
จ้าว หง ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยรัฐศาสตร์และกฎหมายของจีน กล่าวว่า การขาดความชัดเจนอาจนำไปสู่การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล “จะเป็นอย่างไรหากผู้บังคับใช้กฎหมาย ซึ่งโดยปกติแล้วเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีการตีความเป็นการส่วนตัวเกี่ยวกับความรู้สึกเจ็บปวดของประเทศ และเริ่มมีการตัดสินผู้อื่นทางศีลธรรมโดยอยู่นอกเหนือขอบเขตของกฎหมาย”
เธออ้างถึงกรณีหนึ่งที่เป็นพาดหัวข่าวในจีนเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งผู้หญิงที่สวมชุดกิโมโนรายหนึ่งถูกควบคุมตัวในเมืองซูโจว และถูกกล่าวหาว่า “ทะเลาะวิวาทและยั่วยุให้เกิดปัญหา” เพราะเธอสวมชุดญี่ปุ่น เหตุการณ์ครั้งนั้นก็เคยก่อให้เกิดความไม่พอใจในโซเชียลมีเดียของจีนมาแล้ว
นักวิจารณ์ชื่อดังเจ้าของนามปากกา หวัง อู๋สี กล่าวว่า “การสวมชุดกิโมโนเป็นการทำร้ายความรู้สึกของจีน การกินอาหารญี่ปุ่นถือเป็นการบ่อนทำลายจิตวิญญาณของชาตินั้น เมื่อไรกันที่ความรู้สึกและจิตวิญญาณของประเทศจีนที่ผ่านการทดสอบตามกาลเวลากลับเปราะบางได้ขนาดนี้?”
เรียบเรียงจาก BBC
ภาพจาก Hector RETAMAL / AFP
สรุปรางวัลยอดเยี่ยมวอลเลย์หญิงชิงแชมป์เอเชีย AVC 2023 ทีมไทย คว้า 3 รางวัล
“กำแพงเมืองจีนเป็นรู” หลังช่างก่อสร้างขี้เกียจอ้อม ใช้รถขุดสร้างทางลัด
เผยสาเหตุ "ซาล่าห์" ย้ายไปซาอุฯ ไม่ได้เพราะสัมพันธ์การทูต